Home » โรค COVID-19 คืออะไร

โรค COVID-19 คืออะไร

by admin
23 views
1.โรค-COVID-19-คืออะไร

โควิด 19 คืออะไร

เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา  ที่ทำให้มีไข้ และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ โดยหากได้รับเชื้อดังกล่าว จะมีระยะฟักตัว 2-14 วัน

อาการของโรค

อาการที่พบมากที่สุดของโรคโควิด – 19  คือ มีไข้ ไอ อ่อนเพลีย ส่วนอาการที่พบได้แต่ไม่บ่อย เช่น  ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ  ท้องเสีย ตาแดงอักเสบ ปวดศีรษะ  ไม่ได้กลิ่น ไม่รับรส มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี บางรายอาจมีปอดอักเสบรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  ซึ่งการที่มีอาการเหล่านี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะติดเชื้อโควิด-19 เพียงอย่างเดียว อาจเป็นอาการของโรคอื่นๆ ก็ได้ แต่หากมีอาการดังกล่าว หรือสงสัยว่าได้รับเชื้อ ก็ให้ตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลที่มีบริการตรวจ โดยราคาของโรงพยาบาลเอกชล อยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท/คน

การแพร่เชื้อ 

การแพร่เชื้อหลักๆแพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองฝอยที่มาจากจมูกหรือปากของผู้ติดเชื้อจากการไอหรือจามแล้วเราหายใจเอาละอองนั้นเข้าไปหรือมือไปสัมผัสกับละอองฝอยนั้นแล้วมาจับบริเวณใบหน้าทำให้เราได้รับเชื้อนั้นไปด้วย

การป้องกันโควิด – 19

  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมหลัก
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น
  • เว้นระยะห่างที่ปลอดภัย จากการไอหรือจาม
  • ไม่สัมผัสอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เป็นสาธารณะ
  • ไม่สัมผัสบริเวณใบหน้า ตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในแหล่งชุมชน ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามสถานการณ์ของโรคโควิด – 19 สามารถดูได้จาก website ของกระทรวงสาธารณสุข ตามลิงค์นี้  http://www.moph.go.th

2.แพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองฝอยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ คืออะไร

 

โลกได้รับรู้เรื่องโรคติดต่อปริศนา หลังจากทางการจีนยืนยันเมื่อ 31 ธ.ค. 2019 ว่าเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีประชากรกว่า 11 ล้านคน

โดยหลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ในเวลาต่อมา จีนและองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ไวรัสชนิดนี้ คือ “เชื้อไวรัสโคโรนา”

ก่อนหน้านี้ พบไวรัสโคโรนามาแล้ว 6 สายพันธุ์ ที่เคยเกิดการระบาดในมนุษย์ สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์ที่ 7

คนไทยรู้จักไวรัสในตระกูลนี้มาแล้วจากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome – SARS) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน โดยพบการระบาดครั้งแรกปลายปี 2002 เริ่มจากพื้นที่มณฑลกวางตุ้งของจีน ก่อนที่จะแพร่กระจายไปในหลายประเทศ จนมีผู้ติดเชื้อกว่า 8,000 คน และคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 800 คนทั่วโลก

องค์การอนามัยโลก ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า “โควิด-ไนน์ทีน” (Covid-19)

ขณะที่คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานวิทยาของไวรัส (International Committee on Taxonomy of Viruses ) ได้กำหนดให้ใช้ชื่อไวรัสที่ทำให้เกิดโรค Covid-19 ว่า SARS-CoV-2 หรือไวรัสโคโรนาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่สอง (Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 ) เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสโรคซาร์ส

ระยะฟักตัว

นี่เป็นช่วงที่ไวรัสพยายามเข้าไปฝังอยู่ในร่างกายคุณ ไวรัสชนิดต่างๆ ทำงานโดยการเข้าไปและยึดเซลล์ร่างกายของคุณไว้ ไวรัสโคโรนา ซึ่งมีชื่อเรียกทางการว่า Sars-CoV-2 สามารถเข้าสู่ร่างกายเมื่อคุณหายใจเอาเชื้อเข้าไป (หากมีคนติดเชื้อไอหรือจามใกล้ๆ) หรือเมื่อคุณไปจับบริเวณที่มีเชื้อติดอยู่

ในขั้นแรก เชื้อจะแพร่ไปตามเซลล์ที่เยื่อบุคอ ท่อทางเดินหายใจและปอด ก่อนจะเปลี่ยนอวัยวะเหล่านี้เป็น “โรงงานผลิตไวรัสโคโรนา” ที่แพร่กระจายไวรัสใหม่ไปติดเซลล์เพิ่มอีก

ในช่วงแรกนี้ คุณอาจไม่มีอาการป่วย และสำหรับบางคนก็อาจไม่แสดงอาการใดเลย โดยเฉลี่ยแล้ว ระยะฟักตัวตั้งแต่ติดเชื้อถึงแสดงอาการอยู่ที่ 5 วัน แต่ก็แตกต่างกันไปตามกรณี

อาการ

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จะมีอาการเริ่มแรก คือ มีไข้ ตามมาด้วยอาการไอแห้งๆ หลังจากนั้นราว 1 สัปดาห์จะมีปัญหาหายใจติดขัด ผู้ป่วยอาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว

ขณะที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า หากผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงการระบาดของโรคมีอาการไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที

3.อาการผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ความรุนแรงของโรค

ปัจจุบันนักวิจัยประเมินว่า ในจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 1,000 คน มีผู้เสียชีวิต ราว 5-40 คน หากจะระบุตัวเลขคาดการณ์ที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกก็คือ 9 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน หรือเกือบ 1%

ขณะที่นายแมตต์ ฮานค็อก รัฐมนตรีสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร ระบุเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า “การประเมินที่ดีที่สุด”ของรัฐบาล คือ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ “2% หรือ น่าจะต่ำกว่านั้น”

แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของอายุ เพศ สุขภาพโดยทั่วไป และระบบสาธารณสุขที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ 56,000 คน ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก บ่งชี้ว่า ผู้ได้รับเชื้อ 4 ใน 5 คน จะมีอาการป่วยไม่รุนแรง โดย

  • 80% มีอาการไม่รุนแรง
  • 14% มีอาการรุนแรง
  • 6% มีอาการวิกฤต

ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำที่ 1-2%

4.บางคนอาการแย่ลงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองไวรัสมากเกินไปโรคโควิด-19 ขั้นร้ายแรง

บางคนอาการแย่ลงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองไวรัสมากเกินไป การหลั่งสารเป็นสัญญาณเตือนว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาสามารถทำให้เกิดอาการอักเสบในร่างกาย แต่การอักเสบนี้ต้องอยู่ในระดับที่พอดีสมดุล มากไปจะทำให้เกิดความเสียหายไปทั่วร่างกายได้

“ไวรัสนี้ทำให้เกิดการตอบโต้ของระบบภูมิคุ้มกันอย่างไม่สมดุล มีอาการอักเสบมากเกินไป เรายังไม่ทราบว่าไวรัสทำเช่นนี้ได้อย่างไร” ดร.นาธาลี แมคเดอร์มอตต์ จากคิงส์คอลเลจลอนดอน กล่าว

การอักเสบที่ปอด เรียกว่า อาการปอดปวม เป็นไปได้ที่เชื้อจะเดินทางเข้าปาก ผ่านหลอดลม และเข้าไปสู่ถุงลมในปอดในที่สุด ในนี้จะมีกระบวนการการนำออกซิเจนเข้าสู่เลือดและขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป แต่ในภาวะปอดบวม น้ำจะเริ่มเข้ามาในถุงลมเล็กๆ และทำให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่มและหายใจไม่สะดวกในที่สุด

ในระยะนี้ บางคนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ข้อมูลจากจีนชี้ว่า 14 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดได้รับผลกระทบในขั้นนี้

ผลการวิเคราะห์จากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของจีน (CCDC) ชี้ว่า แม้อัตราการติดเชื้อโรคโควิด-19 ระหว่างชายและหญิงจะไม่ต่างกันมากนัก แต่อัตราการเสียชีวิตนั้นทิ้งห่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีจำนวนคนไข้ชายที่เสียชีวิต 2.8% ในขณะที่คนไข้หญิงเสียชีวิต 1.7%

สาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ชายเป็น “เพศอ่อนแอกว่า” ในเรื่องของภูมิต้านทานโรค แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบชัดว่าเหตุใดผู้หญิงจึงแข็งแกร่งกว่าผู้ชายในแง่นี้ ทั้งยังสามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพดีกว่า และอยู่คงทนนานปีกว่าอีกด้วย

การตรวจสุขภาพประจำปี หรือการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงจะช่วยให้เรารู้ตัวอยู่เสมอว่า มีโรคประจำปีหรือไม่ หรือมีโรคอะไรเกิดใหม่กับเราหรือไม่ ซึ่งหลายคนที่ได้รับเชื้อ โควิด-19 ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว จะเสียชีวิตได้ง่ายและเร็วกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัว และที่สำคัญบางคนไม่รู้มาก่อนว่าตัวเองมีโรคประจำตัว เนื่องจากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพมาก่อน ฉะนั้นการตรวจสุขภาพเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเฝ้าระวังตัวเองได้ด้วย เพราะถ้าเราอยู่ตัวว่ากำลังป่วยเป็นโรคอะไร เราก็จะดูแลตัวเองมากขึ้น ร่างกายก็สามารถสู้กับเชื้อ โควิด-19 ได้

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ

เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

หากคุณสนใจบริการของเรา หรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงเว็บไซต์ของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ยอดฮิต

@2024 – Designed and Developed by healthdee